พัฒนาการเคี้ยวกลืนของลูกสำคัญไม่แพ้พัฒนาการด้านอื่น5 ข้อนี้จะทำให้คุณแม่รู้จักพัฒนาการเคี้ยวกลืนของลูกได้ดียิ่งขึ้น
- ลูกดูดกลืนเป็นตั้งแต่ในครรภ์
ลูกฝึกฝนและพัฒนาการดูดกลืนมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่แล้วละค่ะ ที่เห็นชัดเจนคือการดูดนิ้วมือ
- 3 เดือนแรกของการฝึกฝน
ช่วง 3 เดือนแรกๆ การดูดกลืนจะยังไม่ค่อยสมูท เพราะกล้ามเนื้อต่างๆ ภายในปาก เช่น ลิ้น ริมฝีปาก คอ ยังไม่ค่อยแข็งแรง ทำงานยังไม่สัมพันธ์กันบ้างในบางครั้ง ช่วงนี้คุณแม่จึงจะเห็นลูกสำลัก สะอึก เวลาที่กินนม
- ระบบต่าง ๆ พัฒนาไปพร้อมกัน
ช่วง 4-6 เดือนระบบต่างๆ ดีขึ้น ทั้งระบบการดูดกลืน และระบบการย่อย ซึ่งพัฒนาไปพร้อมๆ กันคุณแม่จะสังเกตเห็นว่าลูกเริ่มดูและกลืนนมได้เร็วขึ้น
- หลัง 6 เดือนเเริ่มจากอาหารเหลวไปสู่อาหารหยาบ
ครบ 6 เดือนลูกเริ่มกินอาหารเสริม จะเริ่มใช้ริมฝีปากงับช้อนได้ ใช้ลิ้นดุนอาหารบ้างเพราะติดมาจากการดูดนม แต่จะค่อยๆ หายไปเรื่อยๆ ลิ้นสามารถตวัดอาหารลงสู่คอได้ กลืนลงไป และส่งต่อให้ระบบย่อยอาหารซึ่งเริ่มมีน้ำย่อยที่จะย่อยอาหารที่นอกจากนมได้แล้ว
- มนุษย์เหงือกสู่ฟันซี่แรก
พัฒนาการเคี้ยวกลืนจะค่อย ๆ พัฒนาป็นลำดับควบคู่ไปกับการขึ้นของฟัน การกัด ขบ ดึง เคี้ยวจะค่อยๆ เริ่มพัฒนาขึ้นมาก เมื่อเคี้ยวแล้วลิ้นจะตวัดอาหารสู่ช่องปาก และขบเคี้ยวได้หลายทิศทาง กรามและขากรรไกรขยับได้คล่องแคล่ว ซึ่งระบบการกลืนก็จะเกิดขึ้นอย่างเป็นอัตโนมัติ
สิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรละเลยคือควรให้ลูกกินอาหารที่ค่อย ๆ หยาบขึ้นเรื่อย ๆ ตามวัยหเพื่อให้ลูกได้ฝึกเคี้ยว เพราะพัฒนาการเคี้ยวกลืนสัมพันธ์กับเรื่องการพูดนะคะ ว่าแล้วก็สำรวจมื้อนี้ของลูกว่าคุณแม่ทำอาหารได้ตรงตามพัฒนาการของลูกแล้วหรือยังเอ่ย